วันพฤหัสบดีที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2555

ชีวะ



 
ภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต

.....
(คลิกเพื่อดูภาพขนาดใหญ่)
แผนภาพจำลองแสดงโครงสร้างสามมิติของเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยพอลิเพปไทด์ที่ม้วนกันเป็นก้อน
เอนไซม์เป็นสารที่มีความสำคัญและน่าสนใจยิ่ง เอนไซม์ไม่ใช่มีหน้าที่เพียงแต่ย่อยอาหารซึ่งเป็น ซับสเตรต (substrate) ของปฏิกิริยาเคมีเท่านั้น แต่เป็นสารที่ช่วยเร่งปฏิกิริยาเคมีต่างๆ ที่มีจำนานมากมายหลายพันชนิดซึ่งเกิดขึ้นภายในเซลล์ การค้นพบเอนไซม์จึงนับว่าเป็นสิ่งอัศจรรย์และมีความสำคัญอย่างยิ่งในการ ศึกษาชีววิทยา

นักวิทยาศาสตร์ไม่มีโอกาสที่จะเข้าไปดูการทำงานของเอนไซม์ภาในเซลล์ได้ จึงต้องศึกษาการทำงานของเอนไซม์ภายนอกเซลล์ ซึ่งมีเงื่อนไขบางประการที่แตกต่างจากการศึกษาการทำงานของเอนไซม์ภายในเซลล์ เอนไซม์ทุกชนิดทำงานในเซลล์ แต่หลายชนิดยังสามารถทำงานนอกเซลล์ที่มีสภาพใกล้เคียงกับภายในเซลล์

ปัจจุบันนักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดเอนไซม์ที่ค่อนข้างบริสุทธิ์ได้หลายร้อย ชนิด บางชนิดอยู่ในรูปของผลึกที่เป็นสารบริสุทธิ์ จากการศึกษาโครงสร้างและส่วนประกอบของเอนไซม์ชนิดต่างๆ ทำให้สามารถกล่าวได้ว่า เอนไซม์เป็นสารพอลิเพปไทด์หลายสาย และมักจะมีไอออนของโลหะหรือโมเลกุลที่ไม่ใช่โปรตีนอยู่ด้วย เอนไซม์จะมีมวลโมเลกุล 10,000 ถึงมากกว่า 1 ล้าน และมีสมบัติเป็น คะตะลิสต์ (catalyst)

อัตราการทำงานของเอนไซม์จะขึ้นอยู่กับระดับอุณหภูมิ โดยทั่วๆ ไปอัตราการทำงานของเอนไซม์ต่างๆ จะมีลักษณะดังกราฟ


ปฎิกิริยาของสิ่งมีชีวิต


3.3ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
3.3 ปฏิกิริยาเคมีในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต
นักเรียนได้ทราบมาแล้วว่าโมเลกุลของน้ำเกิดจากอะตอมของธาตุออกซิเจนใช้อิเล็กตรอนรวมกับอะตอมของธาตุไฮโดรเจนทำให้เกิดแรงดึงดูดซึ้งกันและกัน แรงดึงดูดนี้เป็นพันธะโคเวเลนท์ในชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นนักเรียนได้ทดลองแยกน้ำโดยใช้พลังงานไฟฟ้า โมเลกุลของน้ำที่ถูกแยกจะให้โมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนและแกแก๊สออกซิเจน ดังสมการเคมีต่อไปนี้
img6_8
เมื่อจุดไฮโดรเจนในบรรยากาศที่มีออกซิเจนจะเกิดการระเบิดอย่างรุนแรง  เนื่องจากออกซิเจนที่อยู่ในบรรยากาศจะรวมตัวทางเคมีกับไฮโดรเจนอย่างรวดเร็ว  และคายพลังงานออกมา  ดังสมการต่อไปนี้
img7_8
img8_8
 จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ปฏิกิริยาแยกน้ำจะรับพลังงานไฟฟ้าเข้าไป  ส่วนปฏิกิริยาการรวมอะตอมของไฮโดรเจนและออกซิเจนเกิดเป็นโมเลกุลของน้ำจะให้พลังงานออกมา  สิ่งที่น่าสงสัยคือ  เหตุไดปฏิกิริยาแยกโมเลกุลของน้ำจะเกิดขึ้นเองได้ต้องใช้พลังงานและการรวมตัวของอะตอม ไฮโดรเจนและออกซิเจนเป็นโมเลกุลของน้ำจึงได้พลังงานออกมา      
    อะตอมของธาตุ หรือสารประกอบรวมตัวอยู่ได้ด้วยพันธะเคมีซึ่งมีพลังงานสะสมอยู่  ถ้าพันธะเคมีได้รับพลังงานที่มีปริมาณมากพอก็จะทำให้พันธะเคมีสลายตัว และสร้างพันธะเคมีใหม่   ถ้าหากพันธะเคมีใหม่มีพลังงานสะสมน้อยกว่าพันธะเคมีเดิม  อะตอมที่มารวมตัวกันจะปล่อยพลังงานออกมา
    ดังนั้นพันธะเคมีจึงเป็นแหล่งสะสมพลังงาน  และคายพลังงานออกมา  โมเลกุลของสารทุกชนิดมีพลังงานสะสมอยู่ในรูปของพลังงานพันธะ  (  bond  energy )  จากการศึกษาการเปลี่ยนแปลงของพลังงานในระหว่างที่เกิดปฏิกิริยาเคมีพบว่า  พลังงานพันธะของสารตั้งต้นเป็นจุดเริ่มต้นของปฏิกิริยา  และพลังงานพันธะของผลิตภัณฑ์  เป็นจุดสิ้นสุด  ถ้าหากพลังงานพันธะของสารตั้งต้นสูงกว่าพลังงานพันธะของสารผลิตภัณฑ์  เราเรียกปฏิกิริยาแบบนี้ว่า ปฏิกิริยาคลายพลังงาน  (  exergonic  reaction )
img9_8
การจุดไฮโดเจนในบรรยากาศที่กล่าวมาแล้วจะเห็นว่าการรวมตัวกันระหว่างโมเลกุลของไฮโดรเจนและออกซิเจนจะต้องมีการนำเอาพลังงานจากจุดไปกระตุ้นเพื่อสลายพันธะเคมีระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนและระหว่างอะตอมของออกซิเจนแล้วจึงมีการสร้างพันธะเคมีขึ้นมาใหม่  ระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนกับอะตอมของออกซิเจนกลายเป็นน้ำ  ในการนี้พลังงานจำนวนหนึ่งจะถูกคลายออกมา  ซึ่งจะทำให้โมเลกุลของน้ำมีพลังงานลดลง  โมเลกุลของน้ำจึงเสถียรสูงกว่าโมเลกุลไฮโดรเจนและออกซิเจน  จากปฏิกิริยานี้พลังงานที่ปล่อยออกมาจะมีค่ากว่าพลังงานกระตุ้นจึงเรียกปฏิกิริยานี้ว่า ปฏิกิริยาคลายพลังงาน
    ในปฏิกิริยาเคมีใด  หากพลังงานพันธะของสารตั้งต้นต่ำกว่าพลังงานพันธะของสารผลิตภัณฑ์  นั่นคือ   พลังงานกระตุ้นที่ใช้ในปฏิกิริยามากกว่าพลังงานที่ปล่อยออก  เราเรียกปฏิกิริยาแบบนี้ว่าปฏิกิริยาดูดพลังงาน (endergonic  reaction  )
img10_8
จากแยกน้ำโดยใช้ไฟฟ้า  มีการใช้พลังงานไปสลายพันธะเคมีระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนกับออกซิเจนในโมเลกุลของน้ำ  พลังงานบางส่วนจะนำไปสร้างพันธะเคมีใหม่  ระหว่างอะตอมของไฮโดรเจนกับอะตอมของไฮโดรเจน  เกิดเป็นโมเลกุลของแก๊สไฮโดรเจนระหว่างอะตอมของออกซิเจนกับออกซิเจนเกิดเป็นโมเลกุลของแก๊สออกซิเจน  จึงเป็นปฏิกิริยาดูดพลัง
                เมื่อสิ่งมีชีวิตกินอาหารเข้าไป  สารอาหารจะถูกย่อยและดูดซึมเข้าสู่ส่วนต่างๆ ของร่างกายในรูปของกรดอะมิโน เพปไทด์สายสั้นๆ กรดไขมัน กลีซอลรอล มอโนแซ็กคาไรด์ วิตตามินและแร่ธาตุต่างๆ เพื่อส่งไปยังเซลล์ต่างๆ ภายในร่างกาย สารเคมีเหล่านี้หลังจากถูกลำเลียง เข้าสู่เซลล์ก็จะถูกนำไปใช้สร้างสารโมเลกุลใหญ่ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต หรือสร้างพลังงานที่เซลล์ต้องการโดยผ่านปฏิกิริยาเคมีหลายขั้นตอน  ปฏิกิริยาในสิ่งมีชีวิตก็จะมีลักษณะทำนองเดียวกับปฏิกิริยาเคมีที่กล่าวมาข้างต้น กล่าวคือ เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างของโมเลกุลของสารตั้งต้นชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดระหว่างเกิดปฏิกิริยาจะมีการสลายพันธะระหว่างอะตอมภายในโมเลกุลและสร้างพันธะใหม่ขึ้น ทำให้มีการจัดเรียงตัวกันใหม่ของอะตอมได้เป็นสารผลิตภัณฑ์ซึ่งเป็นสารใหม่ที่มีสมบัติแตกต่างไปจากสารข้างต้น    การสลายและการสร้างพันธะระหว่างที่เกิดปฏิกิรกยาเคมีนี้บางปฏิกิริยาดูดพลังงานและบางปฏิกิริยาจะคายพลังงาน

วันพุธที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2555

กลอนกวนๆ



อยากมีเมียทำไม...ขอได้โปรด
อยู่เป็นโสดดีกว่าอย่าสุงสิงมีเมียเกี่ยวเที่ยวไหนสุดไหวติงเกาะเป็นปลิงเชียวนะให้ระวังสินสอดแพงแต่งแล้วไม่แคล้วคลาดต้องเป็นทาสปรนเปรอถูกเธอขังจะยิ้มรับกับใครกลุ้มใจจังทั้งไหล่หลังถูกหยิกหล่อนจิกตีตัณหาหวงห่วงแสนในแดนหล้าริษยาพาวิกฤติคืออิตถีพึงหลีกได้ให้ห่างสร้างเสรีพบคนดีที่สุดจึงจุดไฟเขาว่าได้เมียดีเหมือนมีแม่เป็นจริงแท้แน่ชัดตวงวัดได้คือสามารถตีตบต้องหลบภัยไม่มีใครทารุณเท่าคุณเมีย



ที่มา http://poem.kapook.com/joke.php

กลอนคิดถึง


คิดถึงเธอเหลือเกินคนไกล เธอคิดถึงฉันบ้างไหมคนดี


คิดถึงเธอเหลือเกินคนไกล
เธอคิดถึงฉันบ้างไหมคนดี
ระยะทางห่างกันแบบนี้
เธอจะมีความรู้สึกเช่นไร


อ่านต่อ: http://www.klonthai.com/category/%e0%b8%81%e0%b8%a5%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%84%e0%b8%b4%e0%b8%94%e0%b8%96%e0%b8%b6%e0%b8%87#ixzz1kSGVls9w



ที่มา www.klonthai.com

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

กลอน รัก




ฟากฟ้า…ฝั่งทะเล

เมื่อตำนานความรักเหงา – เหงา
กับกลายเป็นเรื่องเล่า…ทะเล ฟากฟ้า
สิ่งทั้งสองเคยครองรักกัน…เมื่อนานมา
แต่ด้วยความอิจฉาของพสุธา…จับแยกกัน
-  -  -  -  -  -  -
ฟากฟ้า และ ท้องทะเล…ยังคงเป็นสีคราม
แสดงออกถึงความรักที่งอกงามในใจนั้น
ห่างกันสุดฟากฟ้า…ฝั่งทะเล…ยังมั่นคงผูกพัน
” รัก ” ที่จริงใจนั้น…อย่าวัดกันที่ระยะทาง
-  -  -  -  -  -  -
เมื่อฝั่งทะเล…คิดถึงซึ่งฟ้าไกล
น้ำจะก่อระเหยเป็นไอแทนความอ้างว้าง
ฟากฟ้า…รับรู้ได้ถึงสายใยบาง – บาง
สายฝนไหลมาเป็นทาง…ลบความอ้างว้างให้ทะเล
-  -  -  -  -  -  -
ถึงแม้เรื่องจริงเส้นขนาน…ไม่เคยบรรจบ
แต่รักของเราไม่ติดลบ…ไม่หันเห
อย่างน้อยยังเคียงคู่…ฟากฟ้า…ฝั่งทะเล
แค่นิทานกล่อมเห่…แต่ มั่นคง ไม่ไขว้เขว…ดั่งใจคน
lookgaow (ชุมชนคนบ้ากลอน) กลอนชนะเลิศ ต.ค.51
ที่มา 
http://www.klonthai.com/category/%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%81